ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันที่ 18 ก.ค. ที่อาคารรัฐสภา วันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา เปิดเผยผลการประชุมวิป 3 ฝ่ายว่า ในการหารือถึงการประชุมร่วมกันของรัฐสภา ในการเลือกนายกรัฐมนตรีวันพรุ่งนี้ (19 ก.ค.) จะเริ่มขึ้นในเวลา 09.30 น. เพื่อให้กระบวนการเป็นไปด้วยความเรียบร้อย และได้นายกรัฐมนตรีคนที่ 30 โดยเร็ว เพราะประเทศชาติรอนายกฯ คนใหม่ เพื่อแก้ไขปัญหาในบ้านเมือง
อบอุ่นละมุนใจ! “อีซึงกิ” ปิดท้ายเอเชียทัวร์ที่ไทย ประทับใจทุกวินาที สมการรอคอย 4 ปี
ศาลอาญาคดีทุจริตฯ รับคดี ฟ้อง กกต.ละเว้นปฏิบัติหน้าที่ กลั่นแกล้ง “พิธา”
ทั้งนี้ ที่ประชุมวิป 3 ฝ่ายได้หารือ เรื่องกระบวนการว่า จะเป็นญัตติของการประชุมรัฐสภาในข้อที่ 41 หรือไม่ โดยข้อบังคับดังกล่าว กำหนดว่าญัตติที่ตกไปแล้วไม่สามารถนำมาเสนอใหม่ได้ ภายในสมัยประชุมเดียวกัน ยกเว้นสถานการณ์เปลี่ยนแปลง ประธานรัฐสภาสามารถนำกลับมาพิจารณาใหม่ได้ ขณะเดียวกัน มีอีกความเห็นหนึ่งมองว่า การเลือกนายกรัฐมนตรี ไม่ใช่ญัตติทั่วไป เพราะข้อบังคับของการเลือกนายกรัฐมนตรีแยกออกมาในหมวด 9 ตั้งแต่มาตรา 136 ถึง มาตรา 139 ก็ไม่ได้มีบังคับไว้ อีกทั้งรัฐธรรมนูญมาตรา 272 ก็ไม่ได้ระบุอย่างชัดเจนว่าไม่ให้เสนอชื่อซ้ำ จึงไม่ควรใช้บังคับข้อที่ 41 เพราะไม่ใช่ญัตติทั่วไป
อย่างไรก็ตาม เรื่องดังกล่าวก็ยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจน ต้องฟังเสียงสมาชิกรัฐสภาในวันพรุ่งนี้ (19 ก.ค.) ก่อน อย่างไรก็ตาม ผู้ที่เข้าร่วมการประชุมวิปวันนี้ (18 ก.ค.) จะต้องไปทำความเข้าใจกับสมาชิกของตนเอง เพื่อให้เกิดความเรียบร้อยในการประชุมคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
ส่วนวันพรุ่งนี้ (19 ก.ค.) จะต้องลงมติเรื่อง กระบวนการเลือกนายกรัฐมนตรี รอบ 2 จะสามารถเสนอรายชื่อ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ว่าเป็นญัตติ หรือไม่ วันมูหะมัดนอร์ กล่าวว่า ประธานจะชี้ขาดได้ ก็ต่อเมื่อได้ฟังการอภิปรายของสมาชิกรัฐสภาเรียบร้อยแล้ว จากนั้นจะวินิจฉัย หรือจะให้สมาชิกลงมติก็ต้องดูสถานการณ์ในวันพรุ่งนี้ (19 ก.ค.) ว่า จะใช้ข้อบังคับข้อที่ 41 หรือไม่ หรือจะใช้ข้อบังคับหมวด 9 ดังนั้นก็คงต้องฟังการอภิปรายก่อน และเข้าใจว่า คงไม่ใช้เวลายืดเยื้อในการอภิปราย ซึ่งวางกรอบเวลาเอาไว้คร่าวๆ ไม่เกิน 2 ชั่วโมง
เมื่อถามว่า การงดเว้นข้อบังคับจะเป็นหนึ่งในแนวทาง สำหรับการเลือกนายกรัฐมนตรีวันพรุ่งนี้(19 ก.ค.) หรือไม่ วันมูหะมัดนอร์ กล่าวว่า จะงดเว้นข้อบังคับได้ก็ต้องมีการเสนอเข้ามา ในที่ประชุมก่อน และที่ประชุมต้องมีมติเห็นชอบเกินกึ่งหนึ่ง จึงจะงดเว้นได้ แต่ในที่ประชุมวิป 3 ฝ่ายวันนี้ (18 ก.ค.) ไม่มีใครพูดถึงเรื่องนี้ เพราะถ้ามีการยกเว้นข้อบังคับก็ไม่รู้จะไปใช้ข้อบังคับตรงไหน เพราะการเดินหน้าเลือกนายกรัฐมนตรี มีไม่กี่ประเด็นเท่านั้น และประเด็นสำคัญ คือต้องมีการเลือกนายกฯให้ได้ จึงคิดว่าคงไม่มีใครเสนอให้ยกเว้นข้อบังคับ
เมื่อถามว่า หากสมาชิกส่วนใหญ่เห็นว่าเป็นญัตติ จะสามารถเสนอชื่อแคนดิเดตนายกฯ คนอื่นต่อได้เลยหรือไม่ วันมูหะมัดนอร์ กล่าวว่า ข้อบังคับไม่ได้ห้ามเอาไว้
ส่วนการบรรจุวาระการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 272 จะดำเนินการหลังเลือกนายกรัฐมนตรีลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีเลยหรือไม่นั้น วันมูหะมัดนอร์ กล่าวว่า ตอนนี้ยังอยู่ในขั้นตอนตรวจสอบความถูกต้องของเจ้าหน้าที่สภา ยังไม่ได้บรรจุอยู่ในระเบียบวาระ คงต้องรอให้วาระการเลือกนายกฯ เสร็จสิ้นก่อน