รัฐลุยดันแผนอุตฯพืชกัญชง หนุนไทยสู่ฮับอาเซียนใน 5 ปี

วันที่ 27 ธ.ค. 65 น.ส.ทิพานัน ศิริชนะ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) รับทราบผลการประชุมคณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งชาติ (กอช.) ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ รวมทั้งรับทราบ ร่างแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมพืชกัญชงสู่เชิงพาณิชย์ พ.ศ. 66-70 เพื่อให้ไทยเป็นศูนย์กลางพืชกัญชงเชิงอุตสาหกรรมแห่งอาเซียนภายใน 5 ปี ด้วย 4 มาตรการ ได้แก่ สนับสนุนการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ ตลอดห่วงโซ่กัญชง โดยต่อยอดการผลิตเชิงพาณิชย์อย่างเป็นรูปธรรมผ่านการพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีและการสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงงานวิจัย สู่ภาคอุตสาหกรรม

นอกจากนี้ ยังมีการส่งเสริมการผลิตและแปรรูปเชิงพาณิชย์ โดยยกระดับ ขีดความสามารถของผู้ประกอบการและส่งเสริมการยกระดับผลิตภัณฑ์ ให้ได้มาตรฐานสากล, ส่งเสริมด้านการตลาด โดยสร้างโอกาสทางธุรกิจ ทั้งในประเทศและต่างประเทศผ่านช่องทางที่เหมาะสม และ สร้างปัจจัยสนับสนุน ให้เอื้อต่อการประกอบการ โดยลดปัญหาอุปสรรคในการประกอบธุรกิจ

นอกจากนี้ ครม. ยังรับทราบร่างแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ ระยะที่ 1 พ.ศ. 66-70 เพื่อให้ไทยเป็นศูนย์กลางในการผลิตอุปกรณ์และระบบอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะในอาเซียน และมีเทคโนโลยีเป็นของตนเองภายในปี 70 ประกอบด้วย 3 มาตรการหลัก ได้แก่ การยกระดับศักยภาพการแข่งขันอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์เดิม โดยดึงดูดการลงทุนในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ต้นน้ำและยกระดับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์เดิม ไปสู่ผลิตภัณฑ์ที่มีเทคโนโลยีขั้นสูง

ขณะเดียวกันยังต้องกระตุ้นอุปสงค์เพื่อสร้างตลาดการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะในประเทศ และสร้างและพัฒนาระบบนิเวศสำหรับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ โดยพัฒนาระบบและโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ โดยให้ปรับกรอบระยะเวลาเป็น พ.ศคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. 66-70คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

น.ส.ทิพานัน กล่าวว่า ครม. ได้มอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการปรับสิทธิประโยชน์สำหรับนักลงทุนที่มีเทคโนโลยีการผลิตขั้นสูงในอุตสาหกรรมเป้าหมาย สร้างกลไกการถ่ายทอดเทคโนโลยี ส่งเสริมให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะสามารถขึ้นบัญชีนวัตกรรมได้ และสนับสนุนการประยุกต์ใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะในภาคการเกษตร โดยคำนึงถึงความยั่งยืนในการส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตและแปรรูปสินค้าเกษตรเชิงพาณิชย์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับภาคอุตสาหกรรม เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม ในส่วนการส่งเสริมและแก้ไขปัญหาอุปสรรคเพื่อพัฒนาภาคอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน ต้องจัดทำแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ระยะ 5 ปี ระหว่างปี 66-70 โดยได้กำหนดเป้าหมายพื้นที่ที่จะพัฒนาเข้าสู่ การเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ รวม 54 พื้นที่ 39 จังหวัด ในปี 70 และจัดตั้งกองทุนอุตสาหกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย เพื่อฟื้นฟูพื้นที่ปนเปื้อนที่เกิดจากการประกอบกิจการโรงงาน เยียวยาผู้ได้รับความเสียหายหรือความเดือดร้อนจากการประกอบกิจการโรงงาน และช่วยเหลือและอุดหนุนกิจการที่เกี่ยวกับการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม

By admin

Related Post