วันที่ 14 พ.ค.2567 นายแสวง บุญมี เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) พูดคุยกับสื่อมวลชนในเรื่อง "สื่อกับการปฏิบัติในห้วงมีพระราชกฤษฎีกา การเลือก สว. ปี 67" โดยอธิบายถึงประเด็นการแนะนำตัว ในช่วงมีพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกสว.นั้น ว่าไม่มีระเบียบไหนใช้บังคับสื่อมวลชน สื่อยังสามารถนำเสนอข่าวได้ตามหลักวิชาชีพ ทั้งการสัมภาษณ์ผู้สมัคร การวิเคราะห์ข่าวยังสามารถทำได้ แต่ผู้สมัครต้องระวังไม่แนะนำตัวในลักษณะหาเสียง อาทิ บอกเบอร์ แสดงจุดยืน แสดงวิสัยทัศน์ หรือเป็นไปในลักษณะการขอคะแนนเสียง
ทั้งนี้ กกต. ยืนยันว่าไม่มีการปกปิดข้อมูล โดยหลังวันรับสมัคร กกต.จะมีการเปิดเผยรายชื่อทุกกลุ่ม ทุกจังหวัดทั่วประเทศว่าใครลงสมัครอะไร มีประวัติ และประสบการณ์ในการทำงานอย่างไร ดังนั้นประชาชนสามารถตรวจสอบ ติดตามผู้สมัคร ตลอดจนสามารถช่วยกกต.ในการแจ้งข้อมูล ตรวจสอบคุณสมบัติ เพื่อให้ประชาชนจะมีส่วนร่วมในกระบวนการเลือกสว.ครั้งนี้ รวมถึงสามารถไปสังเกตการณ์ที่หน่วยเลือก สว.ได้ทุกระดับคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
นายแสวง กล่าวอีกว่า ขอยืนยันว่าจะได้ สว. 200 คน พร้อมรายชื่อสำรองอีก 100 คน ตามกำหนดเวลาที่ กกต.ประกาศไทม์ไลน์ไปแล้วก่อนหน้านี้ โดยไม่มีข้อกฎหมายใดหรือเงื่อนไขใด ที่จะประวิงเวลาหรือเลื่อนการได้มาซึ่งสว. ให้ล่าช้าออกไปจากไทม์ไลน์ที่กำหนดไว้
โดยการตรวจสอบคุณสมบัติ กรณีผู้สมัครที่มีการยื่นเอกสารเท็จ จะถูกดำเนินคดี และอาจถูกเพิกถอนการสมัครตลอดชีพ (ใบดำ) ได้รับโทษทั้งผู้สมัครและผู้ให้การรับรอง นอกจากนั้นการตรวจสอบคุณสมบัติที่ตรวจสอบยากคือเรื่องการถือหุ้น โดยมีการประชุม 27 หน่วยงานตรวจสอบ และได้ซักซ้อมกัน ซึ่งในกรณีหุ้นหากเป็นการถือปกติ ตรวจสอบวันเดียว
ส่วนกรณีที่ กกต.ไม่รับสมัคร และกรณีลบชื่อออกหลังการประกาศรายชื่อผู้สมัคร จะไม่กระทบกับกระบวนการเลือก สว. โดยผู้ที่กกต.ไม่รับสมัคร หรือผู้ถูกลบชื่อจะสามารถยื่นศาลฎีกาวินิจฉัยได้ภายใน 3 วัน และศาลจะต้องวินิจฉัยให้เสร็จในระยะเวลาก่อนการเลือกในระดับนั้นๆ 1 วัน แต่หากศาลวินิจฉัยไม่ทัน การเลือกก็ดำเนินการต่อได้เลย เพราะกฎหมายกำหนดให้เลือกเท่าที่มี และแม้หลังจากเลือกแล้วศาลจะวินิจฉัยคืนสิทธิก็ไม่เป็นผลให้มีการเปลี่ยนแปลงการเลือกที่ดำเนินการไปแล้ว
ส่วนเรื่องการร้องคัดค้านกระบวนการเลือก คณะกรรมการเลือกจะวินิจฉัยทันที หรือหากมีการร้องต่อศาลฎีกา ก็จะต้องวินิจฉัยให้เสร็จในระยะเวลาก่อนการเลือกในระดับนั้นๆ 1 วัน หากวินิจฉัยไม่ทันก็ให้รับรองไปเลย แม้ว่าศาลจะตัดสินคืนสิทธิภายหลังก็ไม่มีผลกระทบ รวมทั้งเรื่องการร้องทุจริต ถ้าหากทำไม่ทัน กฎหมายให้ประกาศรับรองไปก่อนแล้วสอยทีหลังเช่นเดียวกับการเลือกตั้ง สส.
เลขาฯ กกต.ยังกล่าวด้วยว่า ขณะนี้ กกต.มีการแก้ไขระเบียบการแนะนำตัว โดยผู้สมัครสามารถแนะนำตัวผ่านโซเชียลมีเดียได้ทุกแพลตฟอร์ม โดยสามารถทำได้แต่สาระของการแนะนำตัวให้เป็นไปตามกฎหมายคือตามแบบ สว. 3 เท่านั้น ส่วนกรณีผู้สมัครมีการโพสต์ข้อความที่มีลักษณะเป็นการแนะนำตัวไว้ก่อนที่จะมีพระราชกฤษฎีกาฯ ก็ต้องลบหรือแก้ไขข้อความดังกล่าว สื่อสามารถนำเสนอภูมิหลังทั้งด้านดี และไม่ดี ของผู้สมัครได้ แต่ต้องระวังเรื่องการถูกฟ้องหมิ่นประมาท
เมื่อถามว่า กรณี influencer หรือญาติผู้สมัคร จะสามารถนำเสนอข้อมูลผลงาน หรือความเคลื่อนไหวผู้สมัคร สว.ได้หรือไม่ นายแสวง กล่าวว่า ไม่มีใครใหญ่กว่ากฎหมาย ทั้งสื่อมวลชน หรือผู้อื่น หากรู้เห็นเป็นใจทำให้การเลือกไม่สุจริตเที่ยงธรรมก็ต้องได้รับโทษ โดยการวินิจฉัยก็ต้องดูที่ข้อเท็จจริง หากผู้สมัครได้รับประโยชน์ตลอด ก็ต้องพิสูจน์ว่ารู้เห็นเป็นใจหรือไม่ ส่วนการรณรงค์เชิญชวนคนมาสมัครไม่ถือเป็นความผิด แต่อย่าไปช่วยเหลือหรือแนะตัวในสิ่งที่ผิด
เมื่อถามถึงกรณีคณะก้าวหน้า ไอลอว์ สามารถจัดกิจกรรมรณรงค์ สื่อสาร เกี่ยวกับผู้สมัครได้มากน้อยแค่ไหน นายแสวง กล่าวว่า กรณีรณรงค์ให้มาสมัครเลือกตั้งสามารถทำได้ แต่อย่าไปช่วยเหลือหรือแนะนำตัวในสิ่งที่ผิด อย่างที่บอกว่าระเบียบแนะนำตัวให้ผู้สมัครดูแลตัวเอง
เมื่อถามว่า ในเร็วๆ นี้ ศาลปกครองจะมีการไต่สวนกรณีมีผู้ร้องให้เพิกถอนระเบียบ แนะนำตัว สว. ทางกกต.จะเตรียมการรับมืออย่างไร นายแสวง กล่าวว่า รอดูวันที่ศาลมีคำวินิจฉัย อยากให้กลับไปดูกฎหมายก่อนว่า กฎหมายให้ทำอะไรได้มากน้อยแค่ไหน กกต.ยืนยันว่า ทำตามกฎหมาย เราไม่ได้เขียนระเบียบขึ้นมาเอง
เปิดโปรแกรมวอลเลย์บอลหญิงเนชั่นส์ ลีก 2024 รอบแรก ครบทุกนัด
สัญญาณเตือน “ไขมันพอกตับ” จุดเริ่มต้นสารพัด ตับแข็ง-มะเร็งตับ
พยากรณ์อากาศล่วงหน้า 17 พ.ค.นี้เริ่มต้นฤดูฝน เตรียมรับมือพายุถล่ม คำพูดจาก เว็บพนันออน